มารู้จัก วิธีการเลี้ยงกบในขวดพลาสติก » (ปิดกิจการแล้ว)กระชังบก ฟาร์มกบ อบอ๊บฟาร์ม

«

»

มารู้จัก วิธีการเลี้ยงกบในขวดพลาสติก

แนะนำให้อ่าน เทคนิคการเลี้ยงกบให้ประสบความสำเร็จก่อนเรื่องอื่นๆ ที่นี่

การเลี้ยงกบในขวดน้ำพลาสติกเป็นการประยุกต์การเลี้ยงกบให้เข้ากับสภาพพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดและเป็นการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นการจัดการที่ง่ายและสดวก

การเลี้ยงกบในขวดพลาสติก
วัสดุ-อุปกรณ์
1.ขวดน้ำพลาสติก 1.25 ลิตร ขึ้นไป แบบกลมหรือเหลี่ยมก็ได้
2.ชั้นวาง
3.ลูกกบ ( หลักการเลือกซื้อลูกกบ )
4.อาหารกบแท้ หรืออาหารปลาดุก

วิธีการเลี้ยง
1. ให้เรานำขวดพลาสติกมาเจาะรูขนาดเล็กไว้ประมาณสัก 2 รู เพื่อที่จะเป็นที่ช่องสำหรับใส่อาหาร แล้วให้ใส่น้ำเข้าไปในขวดเพียงเล็กน้อยไม่ต้องเต็มขวด
2. หลักจากนั้นก็ให้นำลูกกบใส่เข้าไปในขวด โดยจะใส่ขวดละ 1 – 2 ตัว แล้วปิดฝาให้แน่น
3. นำขวดไปตั้งไว้ที่ชั้นวางเป็นชั้นๆ โดยวางให้อยู่ในลักษณะที่เอียง
4. การให้อาหารก็จะให้อาหารวันละ 2 เมื้อ เช้าและเย็น โดยใส่ไปในรูที่เราได้เจาะไว้
5. การถ่ายเปลี่ยนน้ำก็จะเปลี่ยน 2 วัน/ครั้ง โดยให้เปิดฝาแล้วเทน้ำทิ้งแล้วเปลี่ยนน้ำเข้าไปใหม่
6. หลักจากที่เลี้ยงไว้ประมาณ 3 เดือนก็สามารถนำไปขายได้แล้ว
7. การขายก็ให้นำขวดพลาสติกมาตัดให้ขาดแล้วจับกบไปชั่งขาย

การสังเกตและให้เวลาในการเลี้ยงกบขวด
1. ควรให้อาหารพอเหมาะ โดยให้สังเกตไม่มีอาหารเหลือในขวด เมื่อให้อาหารครั้งต่อไป
2. น้ำที่เปลี่ยนถ่ายสามารถนำไปรดต้นไม้หรือผักสวนครัวต่อไป
3. ควรทำความสะอาดขวดที่ใช้เลี้ยงเมื่อสกปรกหรือมีกลิ่น
4. เมื่อพบกบมีบาดแผลให้รีบรักษา โดยผสมยาปฏิชีวนะกับอาหารให้กบกิน ส่วนใหญ่จะพบบาดแผลที่ปาก เนื่องจากกระโดดในขวดเมื่อกบตัวโตขึ้น
5. ขวดพลาสติกที่นำมาเลี้ยงควรเป็นขวดลักษณะสี่เหลี่ยม จะสะดวกและเหมาะสมในการจัดชั้นวาง

*** วิธีการเลี้ยงกบในขวด จะปลอดภัยจากโรค สะดวกกว่าการเลี้ยงแบบคอนโด เพราะไม่ต้องทำความสะอาดเพียงแค่เปลี่ยนน้ำทุก 2 วัน แถมประหยัดน้ำกว่า ศัตรูหรือสัตว์ต่างๆ ก็ไม่เข้าไปรบกวน ทำให้กบสะอาดและแข็งแรง ขายได้ราคาดี ***



ข้อดี
1. เลี้ยงในบริเวณบ้าน หรือมีพื้นที่จำกัดได้ดี
2. ลงทุนต่ำ กว่าเลี้ยงในบ่อปูนหรือบ่อดิน
3. ให้อาหารกบได้ง่ายและทั่วถึง ไม่เปลืองอาหาร
4. ควบคุมโรคได้ง่าย ถ่ายน้ำสะดวก และใช้น้ำน้อยกว่า
5. นำมารับประทานได้ , เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว , ลดภาวการณ์เกิดน้ำเสีย , ง่ายต่อการผลิต , ลดการเกิดขยะจากขวดน้ำได้ด้วย
6. เหมาะกับผู้เริ่มทดลองเลี้ยงเพื่อศึกษา ไม่หวังผลกำไร หรือเลี้ยงเล่นๆ 5 วัน หรือ 10 วัน สนุกๆ เป็นต้น


ข้อเสีย
1. ยากต่อการสังเกตและดูแล หากเลี้ยงในปริมาณมากๆ
2. ไม่เหมาะกับการเลี้ยงจริงจังเชิงพาณิชย์ ที่ต้องมีปริมาณผลผลิตต่อเดือนสูง
3. ไม่สะดวก และเสียเวลามากๆ เมื่อเทียบกับผลผลิตที่ได้รับ ขาดทุนเวลา
4. ไม่คุ้มค่าเวลาเลี้ยง เหน็ดเหนื่อยกว่าปกติ ไม่มีกำไร เหมือนขี่ช้างจับตั๊กแตน ไม่คุ้มค้า

หมายเหตุ
ทางฟาร์ม ไม่เคยเลี้ยงกบในขวดพลาสติก อย่างจริงจังมาก่อน ข้อมูลด้านบนได้รวบรวมมาจากแหล่งต่างๆ เพื่อให้ท่านได้ศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น



(จำนวนผู้เข้าชม 163,257 views)