กระชังกบ » (ปิดกิจการแล้ว)กระชังบก ฟาร์มกบ อบอ๊บฟาร์ม

Tag Archive: กระชังกบ

มารู้จัก วิธีการเลี้ยงกบในกระชัง

แนะนำให้อ่าน เทคนิคการเลี้ยงกบให้ประสบความสำเร็จก่อนเรื่องอื่นๆ ที่นี่

การเลี้ยงกบในกระชัง
• เป็นรูปแบบที่นิยมเลี้ยงกันมากเช่นกัน เพราะมีต้นทุนน้อยกว่าเลี้ยงในบ่อปูนพอสมควร
• สะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำที่สุด แต่ยากต่อการควบคุมความสะอาดบ่อและยากต่อการควบคุมโรคกว่าบ่อปูน

รวมโปรโมชั่นส่วนลดกระชังบก กระชังน้ำ และสินค้าอื่นๆ
รวมโปรโมชั่นส่วนลดกระชังบก กระชังน้ำ และสินค้าอื่นๆ

ภาพ กระชังเลี้ยงกบ และอาหาร | ภาพ บรรยากาศฟาร์ม ยามเย็น

ลักษณะบ่อดินเพื่อใช้เลี้ยงกบในกระชัง
• โดยจะขุดบ่อดินขาดประมาณ 35 x 20 เมตรขึ้นไป ลึก 80 – 100 เซ็นติเมตร ไว้หลายๆบ่อ ส่วนใหญ่จะเหมาะกับผู้ที่มีพื้นที่เป็นท่งนามาก่อน
• นำกระชังเลี้ยงกบสำเร็จรูป(ใช้เครื่องจักรเย็บกระชัง จะทนทานกว่าใช้มือเย็บเอง) โดยกระชังที่นิยมที่สุดคือ ขนาด 3 x 4 เมตร ซึ่งจะใส่กบได้ประมาณ 1,200 – 2,500 ตัว/กระชัง เลยทีเดียว โดยมักจะใส่จนเต็มพอดีกับพื้นที่ และมีทางเดินตรงกลางเพื่อสะดวกต่อการให้อาหารและจับกบทยอยขายได้
• สูบน้ำเข้าบ่อประมาณ 50 เซ็นติเมตร แล้วนำกระชังขึงด้วยไม้ใผ่ และนำแผ่นยางลอยน้ำ รองใต้กระชัง เพื่อให้ลอยเหนือน้ำ เป็นพื้นที่แฉะสำหรับกบอาศัยอยู่
• ด้านบนปิดด้วยตาข่าย กันศัตรูกบมากิน และมีสแลนพรางแสงและกันฝน กันกบตกใจ
• ปกติถ้าน้ำดีๆจะถ่ายน้ำทุกๆ 7 วัน ก็ได้ โดยสังเกตจากกลิ่นของน้ำเป็นสำคัญ จะต้องไม่เหม็นมากนัก

น้ำสำหรับใช้เลี้ยงกบกระชัง
• หากน้ำที่ใช้เป็นกรด จะต้องใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพน้ำและตรวจวัดความเป็นกรดด่างของน้ำอีกครั้งหนึ่ง และมีการพักน้ำดังกล่าวไว้ก่อนนำมาเลี้ยงกบ
• น้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะซึ่งคุณภาพของน้ำมักจะไม่สม่ำเสมอหรือปนเปื้อนสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร ดังนั้นควรพิจารณาในการนำมาใช้ ถ้าจะนำมาใช้ควรมีบ่อพักเก็บกักน้ำไว้ก่อน
• หากน้ำที่ใช้เป็นน้ำบาดาลควรผ่านการกรองและพักน้ำไว้ก่อนนำมาใช้ แต่บางที่มีคุณภาพดีก็นำมาใช้เลี้ยงกบรุ่นๆได้เลยเช่นกัน



ข้อดี
1. เลี้ยงในบริเวณบ้าน หรือมีพื้นที่ทุ่งไร่ ทุ่งนาได้ดีมากๆ
2. อายุการใช้งานของกระชังเฉลี่ย 2 – 3 ปี ต่อกระชัง เงินลงทุนกระชังละไม่เกิน 600 บาท/กระชัง
3. เปลี่ยนถ่ายน้ำได้บ่อยๆ และง่าย รวดเร็ว กว่าแบบอื่นๆมาก ถ้ามีน้ำคลองสามารถเปิดให้ไหลผ่านหมุนเวียนได้ตลอด จะดีที่สุด กบจะไม่มีโรค และไม่เปลืองค่ายารักษาโรค
4. ให้อาหารง่าย ไม่เปลืองอาหารมากนัก เหมือนๆกับการเลี้ยงในบ่อปูน
5. ควบคุมดูแลโรคได้ง่ายกว่าแบบอื่นๆ เหมือนๆกับการเลี้ยงในบ่อปูน แต่ด้อยกว่าเล็กน้อย
6. เป็นการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ได้อย่างเหมาะสม และคุ้มค่าที่สุดอีกแบบหนึ่ง
7. สามารถจับกบขายได้ตลอดเวลา
8. กบไม่มีกลิ่นอับติดตัว เพราะเลี้ยงใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด
9. กบมีพยาธิน้อยเพราะไม่ได้สัมผัสดิน โคลนโดยตรง
10. จำนวนกบที่รอดชีวิตจนจับขายได้ มีสูงกว่าบ่อดินธรรมดามาก


ข้อเสีย
1. หากผู้เลี้ยงมีอายุมาก จะเสี่ยงต่อการลื่นล้มเป็นอัมพาฒ หรือเป็นลมแดด จมน้ำเสียชีวิตได้ เพราะอาจต้องใช้สะพานเดินลงไปให้อาหารภายในบ่อ(ถ้าบ่อใหญ่ๆ)
(แนะนำกระชังแบบตั้งบนพื้นดิน เติมน้ำใช้เลี้ยงกบได้ทันที ทั้งประหยัดและปลอดภัยที่สุด)
2. ลงทุนสูงกว่าเลี้ยงกบในบ่อดินธรรมดา แต่ต้นทุนยังน้อยกว่าการสร้างบ่อปูน
3. ถ้าน้ำเสีย กบในบ่อทุกกระชังจะได้รับผลกระทบพร้อมกันหมดทั้งบ่อ เป็นโรคแล้วควบคุมหรือรักษาให้หายค่อนข้างยากกว่าบ่อปูนพอสมควร
4. ถ้าทำกระชังไม่ดีพอ หรือเย็บเองโดยขาดความรู้ กระชังมักจะมีรูรั่วหรือขาดโดยที่เราไม่รู้ จนกบหนีไปหมดในที่สุด
5. ต้องรื้อถอนและทำกระชังใหม่เมื่อครบระยะเวลา 2 – 3 ปี ทำให้ต้องลงทุนค่ากระชังอีกครั้ง
6. ถ้าเลิกเลี้ยงต้องรื้นถอนกระชังออก และต้องซื้อดินมาถมบ่อ สิ้นเปลืองมากๆ


(จำนวนผู้เข้าชม 131,483 views)